BOSSZI รับพันหม้อแปลง ตัวต้านทาน (Fixed Resistor)

ตัวต้านทาน (Fixed Resistor)

0 Comments

ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor)

          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า นิยมนำมาประกอบในวงจรทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตัวอย่างเช่นวงจรเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง ฯลฯ เป็นต้น ตัวต้านทานที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้า ทำหน้าที่ลดแรงดัน และจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร

ตัวต้านทานแบบค่าคงที่  (Fixed Resistor)

          ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่มีหลายประเภท ในรายงานเล่มนี้จะขอกล่าวประเภทที่มีความนิยม ในการนำมาประกอบใช้ในวงจร ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป ดังนี้

ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)

          เป็นตัวต้านทานที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาก มีราคาถูก โครงสร้างทำมาจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านทาน ผสมกันระหว่างผงคาร์บอนและผงของฉนวน อัตราส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ จะทำให้ค่าความต้านทานมีค่ามากน้อย เปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ บริเวณปลายทั้งสองด้านของตัวต้านทานต่อด้วยลวดตัวนำ บริเวณด้านนอกของตัวต้านทานจะฉาบด้วยฉนวน

ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)

ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ (Metal Film)

          ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะทำมาจากแผ่นฟิล์มบางของแก้วและโลหะหลอมเข้าด้วยกันแล้วนำไปเคลือบที่เซรามิค ทำเป็นรูปทรงกระบอก แล้วตัดแผ่นฟิล์มที่เคลือบออกให้ได้ค่าความต้านทานตามที่ต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายจะทำการเคลือบด้วยสารอีป๊อกซี (Epoxy) ตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าความผิดพลาดบวกลบ 0.1 % ถึงประมาณ บวกลบ 2% ซึ่งถือว่ามีค่าความผิดพลาดน้อยมาก นอกจากนี้ยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภายนอกได้ดี สัญญาณรบกวนน้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานชนิดอื่น ๆ

ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ (Metal  Film)

ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน (Carbon Film)

          ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน เป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่โดยการฉาบผงคาร์บอน ลงบนแท่งเซรามิคซึ่งเป็นฉนวน หลังจากที่ทำการเคลือบแล้ว จะตัดฟิล์มเป็นวงแหวนเหมือนเกลียวน๊อต ในกรณีที่เคลือบฟิล์มคาร์บอนในปริมาณน้อย จะทำให้ได้ค่าความต้านทานสูง แต่ถ้าเพิ่มฟิล์มคาร์บอนในปริมาณมากขึ้น จะทำให้ได้ค่าความต้านทานต่ำ ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะมีค่าความผิดพลาด บวกลบ 5% ถึงบวกลบ 20% ทนกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8 วัตต์ถึง 2 วัตต์ มีค่าความต้านทานตั้งแต่ 1 โอห์ม ถึง 100 เมกกะโอห์ม

ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน (Carbon Film)

ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)

          โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้เกิดจากการใช้ลวดพันลงบนเส้นลวดแกนเซรามิค หลังจากนั้นต่อลวดตัวนำด้านหัวและท้ายของเส้นลวดที่พัน ส่วนค่าความต้านทานขึ้นอยู่กับวัสดุ ที่ใช้ทำเป็นลวดตัวนำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนเซรามิคและความยาวของลวดตัวนำ ขั้นตอนสุดท้ายจะเคลือบด้วยสารประเภทเซรามิค บริเวณรอบนอกอีกครั้งหนึ่ง ค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบนี้ จะมีค่าต่ำเพราะต้องการให้มีกระแสไหลได้สูง ทนความร้อนได้ดี สามารถระบายความร้อนโดยใช้อากาศถ่ายเท

ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)

ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา (Thick Film Network)

          โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มหนา มีรูปแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ในรูปแสดงตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนาประเภทไร้ขา (Chip Resistor) ตัวต้านทานแบบนี้ต้องใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิต มีอัตราทนกำลังประมาณ 0.063 วัตต์ ถึง 500 วัตต์ ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 1 % ถึง บวกลบ 5 % (จากหนังสือ Farnell II-Semi Conductor and Passines

ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา (Thick Film Network)

ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง (Thin Film Network)

          โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มบาง มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวไอซี (Integreate Circuit) ใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิตเช่นเดียวกับตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา โดยส่วนใหญ่จะมีขาทั้งหมด 16 ขา การใช้งานต้องบัดกรีเข้ากับแผ่นลายวงจร อัตราทนกำลัง 50 มิลลิวัตต์ มีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 0.1 % และอัตราทนกำลัง 100 มิลลิวัตต์ จะมีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5 % ที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 50 VDC

ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง (Thin Film Network)

โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer)

          โพเทนชิโอมิเตอร์ หรือพอต (Pot) คือตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ในวงจรต่าง ๆ โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทคาร์บอน ผสมกับเซรามิคและเรซินวางบนฉนวน ส่วนแกนหมุนขา กลางใช้โลหะที่มีการยืดหยุ่นตัวได้ดี โดยทั่วไปจะเรียกว่าโวลลุ่มหรือ VR (Variable Resistor) มีหลายแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือแบบ A , B และ C

Potentiometer
Potentiometer

ตัวต้านทานปรับค่าได้แบ่งได้ 2 แบบ คือ

  1. โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือ POT นิยมเรียกกันว่า วอลุ่ม มีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน
  2. ทริมเมอร์โพเทนชิโอมิเตอร์ หรือ ทริมพอต (Trimmer potentiometer or trimpot) หรือที่เรียกว่า R เกือกม้า แบบนี้จะไม่มีแกนหมุนส่วนใหญ่จะอยู่ภายในวงจร

ค่าความต้านทานของตัวต้านทานประเภทนี้จะพิมพ์ไว้บนตัวต้านทาน สามารถหมุนได้ 300 องศา แต่ละชนิดจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานที่แตกต่างกัน ตามองศาที่หมุนเช่นระหว่างขา 1 และขา 2

POT

แบบ A จะเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบทวีคูณ (Log)
แบบ B จะเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจากน้อยไปหามาก แบบสม่ำเสมอ (Linear)
แบบ C จะเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบทวีคูณ (Anti Log)
แบบ MN เป็นวอลุ่มที่ถูกออกแบบมาให้ปรับแต่งเสียงแบบซ้ายขวา (Balance)

ที่มา: http://www.star-circuit.com/article/Electronic-component/Resistor.html

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *